หากใครมีความสนใจที่จะรับขายฝากที่ดิน ก็สามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก แต่ทุกท่านจะต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ของการขายฝากที่ดินไว้อย่างครบถ้วน เพื่อที่จะเป็นตัวช่วยขจัดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการทำสัญญาก็เป็นไปได้ ฉะนั้นแล้วสิ่งสำคัญเลยทุกท่านจะต้องทราบว่าขั้นตอนของการขายฝากที่ดินมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะทำให้การขายฝากที่ดินเป็นไปตามที่คาดหวัง  

รับขายฝากที่ดินคืออะไร ตามไปทำความรู้จักกันเลย  

สำหรับการรับขายฝากที่ดิน ก็คืออีกหนึ่งรูปแบบของการซื้อขายที่ดิน ซึ่งกรรมสิทธิ์ของที่ดินผืนดังกล่าว ก็จะต้องตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีหลังจากที่ได้มีการจดทะเบียนการทำนิติกรรมการขายฝากกับทางกรมที่ดิน ซึ่งระหว่างนี้ผู้ขายฝากก็สามารถที่จะนำเงินมาคืนได้ภายในระยะเวลาที่ได้มีการกำหนดไว้เพื่อไถที่ดินคืน ส่วนทางฝั่งผู้รับซื้อฝากที่ดินจะได้รับประโยชน์ในส่วนของดอกเบี้ยสูงไม่เกิน 15% ต่อปี และจะได้รับเงินต้นคืนทันทีเมื่อได้รับการไถ่ถอน  

ขั้นตอนสำหรับการรับขายฝากที่ดินฉบับเข้าใจง่าย  

การรับขายฝากที่ดินเปรียบเสมือนอีกช่องทางที่จะทำให้ทุกท่านมีเงินทุนไปต่อยอดธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่มีโฉนดของที่ดินผืนดังกล่าวก็สามารถนำมาดำเนินเรื่องได้ในทันที ซึ่งขั้นตอนของการฝากขายที่ดินจะมีขั้นตอนอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลยดีกว่า  

  • ขั้นตอนแรกผู้รับซื้อฝากที่ดินจะต้องดำเนินการประเมินราคาที่ดินและตีราคาที่ต้องการจะทำการขายฝาก  
  • จากนั้นผู้รับซื้อฝากและผู้ขายฝากจะต้องเดินทางมาเจรจากันเพื่อที่จะตกลงราคาที่ต้องการ พร้อมกับทำนิติกรรมสัญญาการขายฝากที่ดินกับทางสำนักงานกรมที่ดิน  
  • เพียงเท่านี้ผู้ขายฝากก็จะได้รับเงินและผู้รับฝากก็จะได้รับกรรมสิทธิ์ของที่ดินผืนดังกล่าวทันทีหลังจากที่ได้มีการจดทะเบียนเสร็จสิ้น  

เมื่อเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้วผู้รับซื้อสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้แก่ผู้ขายฝากได้ แต่อัตราดอกเบี้ยจะต้องไม่เกิน 15% ตามกฎหมายกำหนดและทางฝั่งผู้ขายฝากที่ดินจะต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้รับซื้อทุกเดือนจนกว่าจะครบระยะเวลาที่ได้มีการกำหนดไว้ตามสัญญา 

เมื่อทุกท่านได้ทราบรายละเอียดขั้นตอนของการรับขายฝากที่ดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพียงเท่านี้ก็จะทำให้การขายฝากที่ดินของทุกท่านนั้นเป็นไปได้อย่างง่ายดายตามความต้องการและตามความคาดหวัง นอกจากนี้สิ่งที่มีความสำคัญสำหรับการขายฝากที่ดิน ทุกท่านจะต้องทราบรายละเอียดเอกสารสัญญาต่าง ๆ แบบชัดเจนและเข้าใจจริงว่าในสัญญาต้องระบุสิ่งใดบ้างเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะตามมาภายหลัง